กิจกรรม/ประชาสัมพันธ์
เมื่อ “ภูมิคุ้มกันโรค” ที่ดีที่สุดคือการศึกษา เชฟรอนนำทีมเยาวชนไทยรณรงค์วิถีการกิน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

เมื่อ “ภูมิคุ้มกันโรค” ที่ดีที่สุดคือการศึกษา เชฟรอนนำทีมเยาวชนไทยรณรงค์วิถีการกิน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

เมื่อ “ภูมิคุ้มกันโรค” ที่ดีที่สุดคือการศึกษา เชฟรอนนำทีมเยาวชนไทยรณรงค์วิถีการกิน  เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

เพราะภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด ไม่ควรจะต้องใช้วัคซีนหรือยารักษาโรค แต่ ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด ควรเริ่มต้นที่ “ตัวเรา” นั่นคือ ต้องเรียนรู้ เข้าใจและป้องกันภัยเสี่ยงต่างๆ จากพฤติกรรมเดิม ๆ ที่เคยชินในชีวิตประจำวัน




เพราะภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด ไม่ควรจะต้องใช้วัคซีนหรือยารักษาโรค แต่ ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด ควรเริ่มต้นที่ “ตัวเรา” นั่นคือ ต้องเรียนรู้ เข้าใจและป้องกันภัยเสี่ยงต่างๆ จากพฤติกรรมเดิม ๆ ที่เคยชินในชีวิตประจำวันของเราก่อนที่ทุกอย่างมันจะสายเกินไป


โรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากสถิติพบว่าโรคมะเร็งท่อน้ำดี ติดอันดับ 1 ใน 5 ของชนิดมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในคนไทย ในแต่ละปี มีรายงานพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีกว่า 15,000-20,000 ราย ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก โดยสาเหตุหลักของการเกิดโรคดังกล่าวมาจากโรคพยาธิใบไม้ตับ ที่มักจะมาพร้อมกับพฤติกรรมการรับประทานปลาเกล็ดขาววงศ์ ปลาตะเพียนดิบ ซึ่งเป็นวงศ์ปลาที่พบมากในแม่น้ำ ปลาวงศ์นี้จึงเป็นที่นิยมบริโภคกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



ศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว


ด้วยวิถีการกินและความเชื่อผิดๆ โดยเฉพาะการรับประทานปลาน้ำจืดเกล็ดขาวแบบดิบๆ ที่พยาธิใบไม้ตับมักจะอาศัยอยู่ ทำให้กรมควบคุมโรคพบว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบางหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับสูงถึงร้อยละ 85 ศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยสถิติว่า “คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 20 ล้านคนติดโรคหรือเคยติดโรคพยาธิใบไม้ตับกว่า 6 ล้านคน อีกทั้งความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า การบีบมะนาวหรือใส่มดแดงปรุงในอาหารดิบจะสามารถฆ่าเชื้อและทำให้อาหารสุกได้ ที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนในพื้นที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับที่อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในที่สุด โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดีได้รณรงค์สร้างความตระหนักให้ประชาชนรับรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ซึ่งล่าสุด เราได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการริเริ่ม ‘โครงการวิจัยความตระหนักเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน’ ขึ้นมา โดยหัวหน้าโครงการวิจัยคือ ผศ.ดร.สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน”



สำหรับโครงการดังกล่าว ทางสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมมือกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED) ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ที่มุ่งผลักดันส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสะเต็ม (STEM) ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมถึงด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยงบประมาณสนับสนุน 500,000 บาท รวมถึงมีงบประมาณสมทบจากโครงการวิจัยหลักสูตรเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในโรงเรียน 190,000 บาท และสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี 215,500 บาท สำหรับการดำเนินงานใน 3 ระยะ ได้แก่ การประกวดหนังสั้นและสปอตโฆษณา การทำค่ายเยาวชนสะเต็มศึกษา พาชีวีมีสุก (สุข) และนิทรรศการชีวสุกใสห่างไกลโรคพยาธิใบไม้ตับ โดยเป้าหมายหลักของโครงการ มุ่งสร้างความตระหนักในเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีให้แก่เยาวชน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากรทั่วไป เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยผ่านการศึกษา สู่เป้าหมายระดับชาติด้านสาธารณสุขในการลดการสูญเสียจากโรคร้ายและการมีสุขภาพที่ดีของคนไทย


ทั้งนี้ สำหรับกิจกรรมในโครงการระยะที่ 1 ได้เปิดให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษาส่งหนังสั้นและสปอตโฆษณาเข้าประกวด โดยมีประชาชนในกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับชม เพื่อศึกษาความตระหนักเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อนํ้าดีของประชาชนก่อนและหลังร่วมกิจกรรม


เมื่อโจทย์ใหญ่ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

“เราเชื่อว่าโรงเรียนคือรากฐานสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าการปรับพฤติกรรมที่มีมาแต่ช้านานไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลา ดังนั้นสำหรับโครงการในระยะที่ 1 เราจึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างความตระหนักเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโดยใช้กิจกรรมและประสบการณ์เป็นฐาน เริ่มต้นจากคุณครูสู่นักเรียน จากเด็กไปสู่ผู้ปกครอง และจากครอบครัวกระจายวงกว้างสู่ระดับชุมชน โดยเราได้เน้นโรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบพื้นที่ลุ่มแม่น้ำที่มีความชุกและโอกาสเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีมากกว่าพื้นที่อื่นๆ” ศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว กล่าวถึงแนวคิดตั้งต้นของโครงการดังกล่าว ที่จะเป็น “จุดเริ่มต้น” ในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน


ศ.นพ.ณรงค์ ยังกล่าวเสริมว่าอีกว่า “การเปิดให้เด็กๆ ส่งประกวดทั้งหนังสั้นและสปอตโฆษณา เป็นความสำเร็จสองต่อ กล่าวคือการที่จะผลิตสื่อหรือทำคลิปออกมาได้นั้น เด็กๆ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจข้อมูลดังกล่าว รวมถึงต้องลงพื้นที่ศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเอง วิธีนี้จึงเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับสังคมในวงกว้าง ซึ่งจากผลตอบรับพบว่า เด็กๆ และประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความตระหนักมากขึ้นเกี่ยวกับโรคดังกล่าว นอกจากนี้ เรายังพบหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า การให้เด็กๆ เป็นกระบอกเสียงส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องให้ผู้ปกครองที่บ้าน ค่อนข้างได้ผลดีและทำให้คนในชุมชนปรับพฤติกรรมตามลูกหลานในที่สุด”


กระบอกเสียงเล็กๆ สู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่

การวัดผลงานวิจัยในด้านการตระหนักรู้เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทั้งก่อนและหลังของของเด็กๆ ที่ร่วมประกวด และประชาชนกลุ่มตัวอย่างใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วม ด้านความเชื่อและการรับรู้ และด้านการปฏิบัติตน โดยพบว่าจากก่อนหน้าที่ไม่ทราบถึงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของโรค หรือความเชื่อผิดๆ เรื่องการฆ่าเชื้อด้วยมะนาว เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากการสัมภาษณ์หลังกิจกรรมว่า ทั้งเด็กและประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความตั้งใจที่จะปรับพฤติกรรมการกินที่ต่างออกไปจากวิถีแต่ก่อน และพร้อมถ่ายทอดข้อมูลดังกล่าวให้คนรอบตัวได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารดิบนี้



“ตั้งแต่หนูทำโปรเจคนี้ ที่บ้านก็เริ่มหันมาทำอาหารที่ปรุงสุกมากขึ้น ทำให้หนูคิดขึ้นได้ว่าตัวหนูเองก็เป็นกระบอกเสียงสำคัญที่จะช่วยแก้ไขความเชื่อผิดๆ แล้วก็ป้องกันโรคร้ายต่างๆ ให้ที่บ้านได้” เสียงสะท้อนจาก นางสาวชุติกานต์ สูงเพีย ตัวแทนนักเรียนโรงเรียนบ้านไผ่ศึกษา หนึ่งในทีมผู้ชนะการประกวดประเภทหนังสั้น เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จเล็กๆ ที่เป็นที่ประจักษ์จากโครงการดังกล่าว “ตอนที่ทำโปรเจคนี้ หนูกับเพื่อนๆ ต้องหาข้อมูลเยอะมาก เพราะอยากให้คนดูรู้สึกเชื่อมโยงกับเรื่องราวในคลิปนี้จริงๆ ตอนหาข้อมูลเราได้รู้ว่าที่บ้านของเพื่อนหลายๆ คนก็เคยใช้มะนาวเพื่อปรุงอาหารให้สุกอยู่ เพราะชุมชนของเราใกล้แหล่งน้ำ เมนูอย่างก้อยปลาก็เป็นอะไรที่ฮิตมาก แต่ก็ทำให้เรารู้ว่าเป็นเมนูที่อันตรายมากเช่นกัน และเราไม่อยากให้ครอบครัวที่เรารักต้องเสี่ยงโรคร้ายแบบนี้”



ด้านทีมผู้ชนะการประกวดประเภทสปอตโฆษณา นาวสาวปาริชาติ สุนทรสวัสดิ์ ตัวแทนนักเรียนโรงเรียนชุมแพวิทยายน ได้กล่าวเสริมถึงไอเดียตั้งต้นของการทำโปรเจคดังกล่าวว่า “ความท้าทายของการทำสปอตโฆษณาคือ เราจะเล่าเรื่องอย่างไรให้คนดูเห็นภาพและตระหนักถึงโรคนี้ในเวลาสั้นๆ เพียงไม่ถึง 1 นาที จึงเกิดเป็นไอเดียในการเล่าผ่าน “ตัวร้าย” ซึ่งก็คือเจ้าพยาธิใบไม้ตับตรงๆ เลย ซึ่งวิธีนี้ หนูว่ามันจะทำให้คนที่ไม่รู้จักพยาธิใบไม้ตับมาก่อน เข้าใจถึงที่มาแล้วก็ความเสี่ยงต่างๆ จากพฤติกรรมการกินของเราได้”


การประกวดดังกล่าวเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการสร้างความตระหนักรู้ออกไปยังวงกว้าง แต่ทำให้เราได้เห็นความสำเร็จเล็กๆ ที่จะเข้าใกล้การเปลี่ยนแปลงวิถีการบริโภค โดยสามารถรับชมหนังสั้นและสปอตโฆษณาของน้องๆ ผู้ชนะการประกวดได้ที่ https://youtu.be/r3_J_5BUox8 สำหรับหนังสั้น และ https://youtu.be/MgXpDTSD00Y สำหรับสปอตโฆษณา


เพราะเชื่อว่าการศึกษาเป็น “ภูมิคุ้มกันโรค” ที่ดีที่สุด



นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา

“การสนับสนุนโครงการวิจัยความตระหนักเกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในระยะ 1 ถือเป็นก้าวแรกในการสร้างความตระหนักรู้ผ่านการศึกษาและสนับสนุนการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการการศึกษาด้านสะเต็มอย่างแท้จริงที่ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ถึงโรคดังกล่าว ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ พัฒนาทักษะการวิจัย พร้อมคิดเชิงวิพากษ์และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกระบวนการผลิตสื่อ ซึ่งเป็นแก่นแท้ของการศึกษาด้านสะเต็มที่เชฟรอนให้การสนับสนุนมาโดยตลอดภายใต้การดำเนินโครงการ Chevron Enjoy Science เพราะเชื่อว่า การศึกษาจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างบุคลากรคุณภาพ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมไทยอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศได้” นางสาวพรสุรีย์ กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าว


ทั้งนี้ ในระยะต่อไปของโครงการฯ จะยังคงมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ผ่านการศึกษาและเยาวชน เพื่อเป็นกระบอกเสียงสำคัญสู่การรับรู้ในวงกว้างของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และนี่เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของเชฟรอน ที่พร้อมเดินหน้าสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านการศึกษาและสร้าง “ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด” ให้กับเยาวชน ชุมชน ไปจนถึงประเทศของเราได้อย่างยั่งยืน

ข่าวที่คุณอาจสนใจ
TOP NEWS
  • TODAY
  • WEEK
  • MONTH