ข่าวออนไลน์
ไทยยังไม่ปลอดโรค ชี้เกณฑ์ ต้องไม่ติดเชื้อ "อย่างน้อย 28 วัน"

ไทยยังไม่ปลอดโรค ชี้เกณฑ์ ต้องไม่ติดเชื้อ "อย่างน้อย 28 วัน"

ไทยยังไม่ปลอดโรค ชี้เกณฑ์ ต้องไม่ติดเชื้อ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เผย ระยะปลอดโรคโควิด-19 ในประเทศไทย จะต้องไม่มีการติดเชื้ออย่างน้อย 2 เท่าของระยะฟักตัว คือ 28 วัน ไม่ใช่ 14 วัน


ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เผย ระยะปลอดโรคโควิด-19 ในประเทศไทย จะต้องไม่มีการติดเชื้ออย่างน้อย 2 เท่าของระยะฟักตัว คือ 28 วัน ไม่ใช่ 14 วัน

วันนี้ (9 มิ.ย.63) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ในรายการ "คนหลังข่าว" ทาง TNN ช่อง 16 ระบุถึงกรณีการที่ประเทศไทยสามารถควบคุมโรคได้ โดยไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศ 14 วัน แต่ยังไม่เรียกว่า "ปลอดโรค"


ทั้งนี้ เนื่องจากเวลามีโรคระบาดเกิดขึ้นภาวะ "ปลอดโรค" โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัว ซึ่งโควิด-19 ระยะฟักตัวส่วนใหญ่เกิดขึ้น 2-7 วัน และเกิดได้ถึง 14 วัน ดังนั้น ทางการปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก (WHO) จะประกาศหยุดการแพร่ระบาดของโรคจะต้องใช้ระเยเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวเสมอ ส่วนโควิด-19 ในไทย ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะบอกว่าปลอดโรคในประเทศไทยนั้น จะต้องไม่มีการติดเชื้ออย่างน้อย 2 เท่า คือ 28 วัน ไม่ใช่ 14 วัน อย่างที่คิดกัน


ศ.นพ.ยง กล่าวต่อว่า แม้ยอดผู้ป่วยโควิด-19 จะเคลื่อนไปยังอเมริการใต้ ลาตินอเมริกา แต่อย่าลืมว่ายังมีผู้ป่วยที่อยู่ในเอเชียตะวันออกกลาง ทั้งอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน จนคนป่วยล้นโรงพยาบาล ซึ่งประเทศดังกล่าวนั้น ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลประเทศไทย และอนาคตการเคลื่อนที่ของโรคอาจไม่ได้บินมา แต่อาจจะเดินมาก็ได้


ดังนั้น ถึงแม้ประเทศไทยจะปลอดโรคแต่ถ้าโรคนี้เดินมาได้ หลุดเข้ามา 2-3 คน ขณะเดียวกัน คนไทยการ์ดตก อย่าลืมว่าโอกาสที่ประชาชนส่วนใหญ่จะรับเชื้อมีแน่นอน ซึ่งจะต้องรอจนกว่าจะมีภูมิต้านทานหรือมีวัคซีน


"แม้จะตั้ง 28 วัน จริงๆ ไม่พอ ถ้าโรคนั้นมีแค่ประเทศไทยประเทศเดียว แต่ตอนนี้ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ยังมีการระบาดเกิดขึ้นอยู่ มั่นใจแค่ไหนว่าจะป้องกันได้ ทั้งการบิน และพรมแดนธรรมาชาติ ถ้ามองระยะยาวแล้วถึงแม้เกิน 28 วันต้องเคร่งครัด ตราบใดที่โรคนี้ยังอยู่บนโลกของเรา" ศ.นพ.ยง กล่าว


นอกจากนี้ ประเด็นเรื่องการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่จะขยายต่อ สัมพันธ์กับการควบคุมโรคขณะนี้หรือไม่นั้น ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ปกติโรคติดต่ออันตราย จะมีพ.ร.บ.โรคติดต่ออันตราย โดยอยู่ภายใต้ของกระทรวงสาธารณสุข แต่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถมีอำนาจบังคับกระทรวงต่างๆ ให้ปฏิบัติตามได้


ดังนั้น ถ้ากฎหมายที่อยู่เหนือกว่าพ.ร.บ.โรคติดต่ออันตราย ที่ต้องอาศัยหลายๆ หน่วยงานเข้ามาร่วมการทำงาน เพื่อควบคุมโรค คิดว่าประกาศต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีความจำเป็น แต่หากประชาชนปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด พ.ร.ก.นี้ยังอาจไม่จำเป็น แต่ตอนนี้ประชาชนยังมีบางส่วนการ์ดตก จึงต้องให้กฎหมายที่สูงกว่า พ.ร.บ.โรคติดต่อ เข้ามาควบคุมในหลายๆ เรื่องไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณสุขอย่างเดียว


ส่วนการผ่อนปรน 12 กิจกรรมกิจการ นั้น ต้องอยู่ในจุดสมดุล การคลายล็อกต้องคลายเพื่อให้ทุกคนอยู่ได้ ถ้าตึงไปปิดบ้านปิดเมือง การควบคุมสามารถทำได้ง่าย แต่ประชาชนลำบาก เศรษฐกิจลำบากแน่นอน แต่ถ้าผ่อนคลายมากไป โรคเกิดขึ้นมามากเกินกว่าระบบสาธารณสุขจะสามารถรับได้ เศรษฐกิจก็พังเช่นกัน ดังนั้น จุดสมดุลที่ดี คือ การผ่อนคลายทีละขั้นตอน และทุกคนปฏิบัติตามที่กำหนดได้ เชื่อว่าผ่อนคลายได้ แต่หากทุกคนไม่ยอม แสดงว่าระเบียบวินัยไม่ดีก็จะต้องพิจารณากันต่อไป

Powered by Froala Editor

ข่าวที่คุณอาจสนใจ
TOP NEWS
  • TODAY
  • WEEK
  • MONTH