ข่าวออนไลน์
กลับมาแล้ว! ด่านตรวจโฉมใหม่ เข้ม โปร่งใส มาตรฐานสากล

กลับมาแล้ว! ด่านตรวจโฉมใหม่ เข้ม โปร่งใส มาตรฐานสากล

กลับมาแล้ว! ด่านตรวจโฉมใหม่ เข้ม โปร่งใส มาตรฐานสากล

กลับมาให้หายคิดถึง! จุดตรวจของตำรวจแบบฉบับ "บิ๊กปั๊ด" พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ที่เข้มข้น โปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานระดับสากล งานนี้สายดื่มต้องระวัง!

หลังจากที่การตั้งจุดตรวจของตำรวจห่างหายไปพักใหญ่ เนื่องจาก พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้ระงับการตั้งจุดตรวจไว้ก่อน เพื่อปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรฐานสากล เพราะที่ผ่านมา มีการร้องเรียนจากประชาชนมาอย่างต่อเนื่องว่า การตั้งจุดตรวจของตำรวจไม่มีความโปร่งใส เป็นหนทางหนึ่งในการแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน

จากนั้นจึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปกำหนดแนวทางการตั้งจุดตรวจ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และก็ได้แนวทางดังกล่าวออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เมื่อคืนที่ผ่านมา จึงได้มีการสาธิตการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ และป้องกันอาชญากรรม เพื่อลดอุบัติเหตุ บริเวณด้านหน้า สน.ทองหล่อ โดยมี พลตำรวจเอกมนู เมฆหมอก และ พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาตรวจสอบดูการสาธิต ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติ 3 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1 หลักการและแนวทางในการตั้งจุดตรวจ คือ

1.1 การตั้งจุดตรวจต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับ ผบก.ขึ้นไป

1.2 การตั้งจุดตรวจต้องมีแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน

1.3 จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีป้ายแสดงถึงมาตรฐานการตรวจวัดแอลกอฮอร์ ตั้งไว้ตรงบริเวณใกล้โต๊ะตรวจวัดฯ ในลักษณะที่ผู้รับการตรวจวัดฯ

มองเห็นได้ชัดเจน

1.4 การกำหนดสถานที่ตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอร์ ต้องกำหนดมาจาก (1.) ข้อมูลผู้กระทำความผิดเมาแล้วขับในเขตพื้นที่ (2.) สถิติการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุมาจากเมาแล้วขับ (3.)สภาพการจราจร ความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนและเจ้าหน้ที่ตำรวจเป็นสำคัญ (4.) ความสะดวก มีที่จอดยานพาหนะของผู้ขับขี่ มีไฟฟ้าสำหรับใช้ที่จุดตรวจฯ เช่น สำหรับกล้องวงจรปิดสัญญาณไฟวบวาบ และเครื่องพิมพ์ผลการตรวจ เป็นต้น

1.5 จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า "หยุดตรวจ" โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จุดตรวจและในเวลากลางคืนจะต้องมีแสงไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร และก่อนถึงจุดตรวจให้มีแผนป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหนด่านตรวจ หรือจุดตรวจดังกล่าว

1.6 การสื่อสารกับประชาชนในการบังคับใช้กฎหมาย ต้องมีการอธิบายข้อกฎหมายให้ผู้กระทำผิดเข้าใจข้อกล่าวหา โดยใช้กิริยาวาจาที่สุภาพ

1.7 การตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด ตามที่ ตร. ได้เคยสั่งการไว้อย่างคร่งครัด

ข้อ 2 การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ คือ

2.1 บันทึกข้อมูลการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ตามแผนการปฏิบัติลงในระบบการจัดทำแผนการตั้งจุดตรวจกวดขันวินัยจราจร หรือ Police Traffic Checkpoint Control

2.2 ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ทุกนาย บันทึกการปฏิบัติหน้าที่ด้วยกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการปฏิบัติหน้าที่ และเพื่อยืนยันความโปร่งใส

2.3 การตรวจวัดแอลกอฮอล์ ให้มีการตรวจเบื้องต้นและแบบยืนยันผล และต้องบันทึกการตรวจทั้งสองแบบด้วยกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลชนิดใส่ซิมเน็ต เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์

ข้อ 3 แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริต คือ

3.1 จัดโต๊ะสำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์แบบยืนยันผลให้มีแสงสว่างมากพอ เป็นสถานที่เปิดเผย ป้องกันความเคลือบแคลงสงสัยจากประชาชน

3.2 มีป้ายไว้ตรงบริเวณจุดตรวจวัดฯ มีข้อความว่า "จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ สน. หรือ สภ.ท้องที่นั้นๆ มีการ บันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลไว้เป็นหลักฐาน เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นมาตรฐานสากล"

3.3 เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้ว ให้หัวหน้าจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์รายงานผลการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

3.4 ให้หัวหน้าสถานีตรวจสอบข้อมูลการตรวจที่พิมพ์จากเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ ตามข้อ 3.3 หาก พบข้อมูลผิดปกติ ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบต่อไป

3.5 ให้หัวหน้าสถานีตำรวจจัดทำระบบจัดเก็บไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิทัลการตรวจวัดแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้ที่ผู้ตรวจวัดฯ ในภายหลัง

3.6 จัดให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า "หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับการ ระบุหมายเลขโทรศัพท์ หรือ แจ้งร้องเรียนการปฏิบัติหน้ที่ สายด่วน หมายเลข 1599" ข้อความดังกล่วข้างต้นให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร

สำหรับการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ของสถานีตำรวจ แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ

สถานีตำรวจขนาดใหญ่ ใช้กำลัง 12 นาย

มีหัวหน้าชุด 1 นาย , ชุดคัดเลือกรถเพื่อมาตรวจสอบ 2 นาย , ชุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ 3 นาย , ชุดป้องกันการหลบหนี 4 นาย , ชุดคุ้มกันเจ้าหน้าที่ตรวจวัดแอลกอฮอล์ 1 นาย และชุดควบคุมผู้ต้องหา 1 นาย

สถานีตำรวจขนาดกลาง ใช้กำลัง 9 นาย มีหัวหน้าขุด 1 นาย , ชุดคัดเลือกรถเพื่อมาตรวจสอบ 2 นาย , ชุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ 2 นาย , ชุดคุ้มกันเจ้าหน้าที่ตรวจวัดแอลกอฮอล์ 1 นาย , ชุดป้องกันการหลบหนี 2 นาย และชุดควบคุมผู้ต้องหา 1 นาย

สถานีตำรวจขนาดเล็ก ใช้กำลัง 7 นาย มีหัวหน้าชุด 1 นาย , ชุดคัดเลือกรถมาตรวจสอบ 1 นาย , ชุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ 1 นาย , ชุดคุ้มกันเจ้าหน้าที่ตรวจวัดแอกอฮอล์ 1 นาย , ชุดป้องกันการหลบหนี 2 นาย และศูนย์ควบคุมผู้ต้องหา 1 นาย

ขณะที่พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า หากแนวปฎิบัติได้ออกมาอย่างชัดเจน ตำรวจทั่วประเทศต้องนำไปปฎิบัติ หากพบว่าไม่ปฎิบัติตามจะต้องดำเนินการทางวินัย และการตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับการของแต่ละพื้นที่ก่อน การจัดตั้งป้ายแสดงการตรวจวัดแอลกอฮอล์ กล้องวงจรปิดที่สามารถบันทึกและตรวจสอบย้อนหลังได้ 3 วัน และขอให้ประชาชนเชื่อมมั่นในการทำงานของตำรวต และสามารถบันทึกภาพได้ขณะที่รับการตรวจเพื่อใช้เป็นหลักฐานกรณีที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

ขณะที่นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิชย์ เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ เห็นด้วยกับมาตรการนี้ หากมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง ก็เชื่อว่าจะสามารถลดอุบัติเหตุจากผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับได้ เพราะในช่วงงดตั้งด่านตรวจที่ผ่านมา ก็พบว่ามีอุบัติเหตุในช่วงกลางคืนรุนแรงขึ้นมาก

แม้ว่าวิธีการตั้งด่านตรวจจะไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่เห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบเพื่อให้มีความโปร่งใสในการทำงานของตำรวจมากขึ้น แต่ก็อยากให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจถ่ายคลิปวิดีโอไว้เป็นหลักฐานของตัวเองด้วย

อย่างไรก็ตาม มูลนิธิเมาไม่ขับยังพร้อมร่วมที่จะขับเคลื่อนการรณรงค์แก้ไขปัญหาเมาไม่ขับ และพร้อมนำผู้เสียหายจากการถูกรถชนจากเหตุผู้ขับรถที่เมาแล้วขับมาร่วมสังเกตการณ์ทำงาน หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้ขับขี่มีจิตสำนึกมากขึ้นด้วย และทางมูลนิธิฯ พร้อมที่จะออกค่าใช้จ่ายเอง


Powered by Froala Editor

ข่าวที่คุณอาจสนใจ
TOP NEWS
  • TODAY
  • WEEK
  • MONTH