ข่าวออนไลน์
แมนๆ เสี่ยงโควิด!? วิจัยพบเทสโทสเตอโรนสูง ติดเชื้อง่ายขึ้น

แมนๆ เสี่ยงโควิด!? วิจัยพบเทสโทสเตอโรนสูง ติดเชื้อง่ายขึ้น

แมนๆ เสี่ยงโควิด!? วิจัยพบเทสโทสเตอโรนสูง ติดเชื้อง่ายขึ้น

ฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน ) มีส่วนสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ชายได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 มากกว่าผู้หญิง ยิ่งสูงยิ่งเสี่ยง รวมถึงชายที่ศีรษะล้านจากภาวะฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล พบว่าติดโควิด-19 จำนวนมาก


วันนี้ (9 มิ.ย.63) นับตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดที่เมืองอู่ฮั่น สิ่งที่นักวิจัยตั้งคำถามก็คือ "เหตุใด เชื้อไวรัสตัวนี้ถึงส่งผลกระทบต่อผู้ชายมากกว่าผู้หญิง?" ทั้งเรื่องการติดเชื้อ และการอาการป่วย


ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ของจีน ชี้ว่า คนไข้ชายเสียชีวิต 2.8% ขณะที่ คนไข้หญิง เสียชีวิต 1.7%


งานวิจัยจากอิตาลี และสเปน บ่งชี้ตรงกันว่า เรื่องนี้เป็นผลมาจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนเพศชาย หรือที่เรียกโดยรวมว่า Androgen Testosterone เป็นฮอร์โมนเพศชาย ที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธ์ ทั้งเรื่องอารมณ์ทางเพศ การผลิตอสุจิ การสร้างมวลกล้ามเนื้อ การเผาผลาญพลังงาน ไปจนถึงลักษณะของพฤติกรรมและอารมณ์ทั่วๆไป


สิ่งที่นักวิจัยจากอิตาลี และสเปน ค้นพบก็คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนั้น เป็นตัวเปิดทางให้เชื้อไวรัสโควิด-19 ฝังตัวลงไปในเซลล์ของมนุษย์ได้ และยิ่งใครมีฮอร์โมนเพศชายสูงก็ยิ่งมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ผู้ชายที่มีอายุมากย่อมมีฮอร์โมนเพศลดลง และก็มีภูมิคุ้มกันลดลงด้วย

นอกจากนี้ ยังรวมถึงไป "ผู้ชายหัวล้าน" ที่พบในอเมริกาและยุโรป ซึ่งติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก ราว 71% มาจากฮอร์โมนเพศที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย หรือภาวะไม่สมดุล


คำถามก็คือ...


ระหว่าง "ระดับฮอร์โมนเพศชาย" กับ "ระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย"

อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดโควิด-19 มากกว่ากัน?


เรื่องนี้ยังเป็นงานวิจัยที่ไขคำตอบเบื้องต้นว่า ฮอร์โมนเพศชายมีส่วนในการช่วยเหลือเชื้อไวรัสโควิด -19 โดยยังไม่มีข้อสรุปว่าเหตุใด ฮอร์โมนเพศชาย จึงมีปฏิกิริยาที่เอื้อต่อการนำไวรัสเข้าสู่เซลล์


นอกจากนี้ ยังต้องมีการศึกษาต่อไปอีกว่า ฮอร์โมเพศชายในระดับใดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และที่สำคัญ ฮอร์โมนเพศชายส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายด้วยหรือไม่


ประเด็นนี้ทำให้แพทย์บางกลุ่มในสหรัฐฯ มีความสนใจที่จะทดลองใช้ฮอร์โมนเพศหญิงเข้าช่วยรักษาคนไข้ชาย ซึ่งเป็น "เพศอ่อนแอกว่า" ในเรื่องของภูมิคุ้มกันร่างกาย


คณะแพทย์ของโรงพยาบาลซีดาร์ส-ไซนาย ในนครลอสแอนเจลิส รวมทั้งทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสโตนีย์บรูก ในรัฐนิวยอร์ก กำลังเริ่มทดลองใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เป็นชายและหญิงชราที่ขาดฮอร์โมนเพศ

โดยคนไข้ที่ใช้ทดลองจะต้องแสดงอาการของโรคที่รุนแรงออกมาอย่างน้อยหนึ่งอย่าง เช่น มีไข้สูง หายใจลำบาก หรือปอดอักเสบ แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ


อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกันระหว่างชายและหญิงในบางวัฒนธรรม ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ชายป่วยและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้ง่ายกว่า เช่น การสูบบุหรี่ โรคประจำตัวความดันสูงและเบาหวาน รวมถึงการไปหาหมอที่ผู้ชายจะไปหาช้ากว่าผู้หญิง


Powered by Froala Editor

ข่าวที่คุณอาจสนใจ
TOP NEWS
  • TODAY
  • WEEK
  • MONTH