การเมือง
ไม่หลุดสส.! ธรรมนัส-สิระกอดคอกันรอด

ไม่หลุดสส.! ธรรมนัส-สิระกอดคอกันรอด

ไม่หลุดสส.! ธรรมนัส-สิระกอดคอกันรอด

ธรรมนัสรอด! ไม่หลุดสส. ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง ปมภรรยาถือหุ้นตลาดคลองเตย "สิระ" ก็รอด ชี้เป็นการสอบถามข้อมูล-รับฟัง ไม่ได้ใช้อำนาจตำแหน่งแทรกแซงก้าวก่าย


ที่สำนักงานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรนูญเพื่อลงมติวินิจฉัย คำร้องที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ส่งความเห็นของ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน 57 คน ขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกสภาพการเป็น ส.ส.ของ นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101(7) ประกอบมาตรา 185 (1) หรือไม่ กรณีที่ นายสิระ ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็น ส.ส.กระทำการก้าวก่าย แทรกแซงการทำหน้าที่ของข้าราชการ ในระหว่างที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบเรื่องการบุกรุกพื้นที่ป่าที่จังหวัดภูเก็ต


ต่อมาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย โดยศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากเห็นว่า การกระทำดังกล่าวของนายสิระ เจนจาคะ เป็นเพียงให้เจ้าหน้าที่รัฐ ทำตามกฎหมายกำหนด ส่วนการแสดงออกคงเป็นเพียงการไม่เห็นด้วยกับการทำหน้าที่ของตำรวจในพื้นที่เท่านั้น ส่วนการพูดกับนายกเทศมนตรีตำบลกะรนนั้นเป็นเพียงการสอบถามข้อมูลและรับฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ดังนั้นพฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้ว่า ใช้สถานะหรือตำแหน่ง ส.ส. ก้าวก่ายแทรกแซง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 185(1)


อย่างไรก็ดีพฤติกรรมและการใช้ท่าทางของนายสิระ หากบุคคลใดเห็นว่าไม่สุภาพหรือไม่เหมาะสมของส.ส. สามารถดำเนินการได้ตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ.2563 และมาตรฐานทางจริยธรรม อาศัยเหตุดังกล่าวจึงวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของนายสิระ ไม่สิ้นสุดลง


ส่วนคำร้องขอให้วินิจฉัยสมาชิกภาพของ ส.ส.ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พปชร. และ รมช.เกษตรและสหกรณ์นั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาวินิจฉัย เนื่องจากข้อกล่าวหาไม่มีลักษณะเป็นการเข้าทำสัญญาอันเป็นการผูกขาดตัดตอนตามรัฐธรรมนูญ

กรณีนี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของ ส.ส.ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (7) ประกอบมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า แม้ ส.ส.จำนวน 54 คน ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของ ส.ส.ของ ร.อ.ธรรมนัส สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (7) ประกอบมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม แต่การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น นอกจากพิจารณากระบวนการส่งคำร้องแล้ว ยังต้องพิจารณาเนื้อหาของคำร้องว่ามีมูลกรณีตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย

เนื่องจากรัฐธรรมนูญมิได้กำหนดมาตรการตรวจสอบมูลกรณีตามคำร้องก่อนส่งมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่ง เนื่องจากไม่มีกระบวนการกลั่นกรองมูลกรณีตามคำร้องโดยความเห็นชอบของสภาแห่งนั้น ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องพิจารณามูลกรณีก่อนที่จะมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกร้อง

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า การที่ภริยาของ ร.อ.ธรรมนัส ถือหุ้นในบริษัท ตลาดคลองเตย (2551) จำกัด และบริษัทฯ ทำสัญญาเช่าพื้นที่กับการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่กล่าวอ้างในคำร้อง ไม่มีลักษณะเป็นการเข้าทำสัญญาอันเป็นการผูกขาดตัดตอนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสาม มูลกรณีไม่ต้องด้วยเหตุตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (7) ที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ได้ จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย


Powered by Froala Editor

ข่าวที่คุณอาจสนใจ
TOP NEWS
  • TODAY
  • WEEK
  • MONTH